หน้าเว็บ

Project

                                    แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ 

1.  โครงงานเรื่อง Animation Cover Dance แน่นอก

2.  ชื่อผู้เสนอโครงงาน
        2.1 นางสาว สุทธิดา ยัสโยธา เลขที่ 21 ม.6/1
        2.2 นางสาว ณันธิการ์ อรรถวิวรรธน์ เลขที่ 28 ม.6/1
        2.3 นางสาว อัซมา นูร์มะหะหมัด เลขที่ 41 ม.6/1
        2.4 นางสาว ซะฮรอ พิรุอาลี เลขที่ 46 ม.6/1
3.  ครูที่ปรึกษาโครงงาน   คุณครู เชษฐา เถาวัลย์

4.  หลักการและเหตุผล
     ปัจจุบันการเต้น Cover เป็นที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่น ส่วนใหญ่จะเลือกใช้เพลงที่มาจังหวะสนุก มีท่าเต้นที่เมื่อผู้อื่นพบเห็นแล้วมักเต้นตามอย่างเช่น เพลงกังนัมสไตล์ ของประเทศเกาหลี ที่มีการเต้นCoverกันทั่วโลกแต่ตอนนี้ได้มีเพลงหนึ่งที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการเพลงไทย นั้นคือ เพลงรักต้องเปิด แน่นอกทางคณะผู้จัดทำก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบและมีความรู้ทางด้านอนิเมชั่น จึงได้จัดทำอนิเมชั่น Cover dance ขึ้น โดยสร้างตัวการ์ตูนให้มีชีวิตและเต้นตามจังหวะเสียงเพลงการทำอนิเมชั่น Cover dance นี้ เป็นการโปรโมทเพลงไทยและเป็นการพัฒนาฝีมือในการสร้างอนิเมชั่น
5.หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  ความหมายของอนิเมชั่น  (Animation) 
       
อนิเมชั่น (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชั่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช 


 ขั้นตอนในการผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชัน
1. ไอเดีย ( Idea ) หรือ แรงบันดาลใจ ( Inspiration )
       เป็นสิ่งแรกที่เราสร้างสรรค์จินตนาการและความคิดของเราว่าผู้ชมของเราควรเป็นใคร อะไรที่เราต้องการ ให้ผู้ชมทราบภายหลังจากที่ชมไปแล้ว
2. โครงเรื่อง ( 
Story ) 
       โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราวทุกอย่างใน ภาพยนตร์ทั้งตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ ฉาก แนวคิด 
3. สคริปต์ ( 
Script )
        
เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉากพร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหวโดยให้รายละเอียดต่างๆ เช่น ผู้จัดทำ เสียงดนตรี
เสียงประกอบ หรือนักออกแบบตัวละคร
4. บันทึกเสียง ( 
Sound Recording ) 
        หลังจากที่ได้ออกแบบตัวละครเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการอัดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างยิ่ง บางสตูดิโออาจจะเริ่มต้นด้วยการอัดเสียง 
Soundtrack ก่อน ซึ่งการอัดเสียงประกอบแอนิเมชันจะแยกออกเป็นประเภทของเสียงโดยหลักแล้วจะมี ดังนี้คือ
    เสียงบรรยาย ( Narration ) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ชมว่าเรื่องเป็นอย่างไร และยังเป็นการเชื่อมโยงให้เรื่องราวติดต่อกันด้วย
    บทสนทนา ( Dialogue เป็นหลักการหนึ่งในการสื่อเรื่องราวตามบทบาทของตัวละคร เป็นการสื่อความหมายให้ตรง ตามเนื้อเรื่องที่สั้น กระชับ และสัมพันธ์กับภาพ
    - เสียงประกอบ ( Sound Effects ) เป็นเสียงที่นอกเหนือจากบรรยาย เสียงสนทนา เสียงประกอบจะทำให้เกิดรู้สึก สมจริงสมจัง มีจินตนาการเช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น ราวกับได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานที่นั้นด้วย 
    - ดนตรีประกอบ ( Music ) ช่วยสร้างอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามเนื้อหาและปรับอารมณ์ของผู้ชมระหว่างการเชื่อมต่อของ
ฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งได้ด้วย
5.  ตรวจความเรียบร้อยของแอนิเมชั่น ( Animatic Checking )  คือเวลานำเสนองานงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น จะไม่หยาบเกินไปสามารถสื่อแนวคิดหลักใหญ่ๆ

6.   วัตถุประสงค์ของโครงงาน
     6.1   เพื่อจัดทำอนิเมชั่น เรื่อง  Cover dance แน่นอก
     6.2   เพื่อศึกษากระบวนการหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
     6.3   เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม
7.   ขอบเขตของโครงงาน
      7.1  มีการ์ตูนอนิเมชั่น 4 ตัว    
      7.2  ตัวการ์ตูนสามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่กำหนด
      7.3  เพลงรักต้องเปิด แน่นอก
      7.4  มีการสนทนาของตัวการ์ตูน
8.   เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
     8.1 โปรแกรม Crazytalk Animation Pro Trial เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างอนิเมชั่น
     8.2  โปรแกรม MP 4 Ringtone Maker ใช้ในการตัดต่อเพลง
     8.3  โปรแกรม Adobe Photoshop ใช้ในการตัดต่อภาพ
9.   ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
18 มิถุนายน  2556
ณันธิการ์
เสนอโครงร่างโครงงาน
21 มิถุนายน  2556
อัซมา
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
23 มิถุนายน  2556
ณันธิการ์
วิเคราะห์ข้อมูล
27 มิถุนายน  2556
ซะฮรอ
ออกแบบอนิเมชั่น
 26 กรกฎาคม 2556
ซะฮรอ
จัดทำอนิเมชั่น ลงมือปฏิบัติ
  1  สิงหาคม   2556
สุทธิดา
ทดสอบและแก้ไขระบบ
3  กันยายน   2556
สุทธิดา
นำเสนอโครงงาน
6  กันยายน   2556
อัซมา
ประเมินผลโครงงาน
6  กันยายน   2556
ซะฮรอ

10.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
        10.1  ได้อนิเมชั่น เรื่อง Cover dance แน่นอก
        10.2  ได้ศึกษากระบวนการหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
        10.3  ได้รับความบันเทิงจากอนิเมชั่นเรื่องนี้