หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Mind Mapping

เทคนิคการจำด้วย Mind Mapping

"Mind Mapping" เป็นเครื่องมือที่น่าใช้ โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องจำอะไรยากๆ โดยเฉพาะตอนที่เราต้องทำความเข้าใจบทเรียนก่อนสอบ นอกจากนี้ Mind mapping ยังใช้เพื่อแก้ไขปัญหาได้ด้วย เพราะมันสามารถแตกประเด็นย่อยๆ ได้มากมายจนเข้าถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง (ถ้าเรา list รายการแบบธรรมดาๆ เราอาจจะไม่เห็นความเี่กี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน) แม้กระทั่งนักเขียนนิยายหนังสือ เขา็ก็นิยมใช้ Mind Mapping เพื่อแตกความคิดให้เห็นภาพมากมายก่อนจะลงมือเขียนจริง   โดยสรุปแล้ว "Mind Mapping" เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เรา Generate ideas และจดจำเรื่องยากๆได้
วิธีทำ Mind Mapping

1. เลือกหัวข้อ
       เราอยากรู้เรื่องอะไร ให้เขียนหัวข้อออกมา และเลือกหัวข้อที่ดี หัวข้อที่ดีควรจะเข้าใจได้ง่าย สั้นๆ แต่ได้ใจความ  หัวข้อที่กว้างเกินไปจะทำให้เราแตกประเด็นเยอะ โดยบางทีมันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากรู้หรืออยากจำเลย
2. เขียนหัวข้อหลักไว้กลางหน้ากระดาษ
       วางกระดาษแนวนอนจะดีที่สุด จากนั้นเขียนหัวข้อตัวหนาๆไว้กลางกระดาษ หัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อหลักในการแตกประเด็นต่อไป
3. เริ่มเขียนกิ่งก้านสาขา
       อะไรที่เรานึกออกและเกี่ยวโยงกับหัวข้อหลัก (Main idea) ให้เราเขียนเป็นกิ่งก้านสาขาของ Main topic หัวข้อย่อยเหล่านี้ควรเป็นคำสั้นๆ แต่ได้ใจความอีกเช่นกัน เพื่อที่จะได้จำได้ง่ายและประหยัดพื้นที่ (พื้นที่โล่งๆ และเป็นระเบียบจะช่วยในการจดจำ)

4. แตกประเด็นของหัวข้อย่อย
      อะไรที่เกี่ยวโยงกับหัวข้อย่อย ให้แตกประเด็นออกมา ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นแผนผังที่เชื่อมโยงสิ่งต่างๆอย่างสมบูรณ์

คำแนะนำที่น่าสนใจ
1. ปล่อยความคิดไปตามสบาย หากติดอยู่เรื่องหนึ่ง ให้ข้ามไปทำเรื่องอื่นก่อน
2. พยายามทำให้ Mind Mapping ของเราดูสะอาดตา เป็นระเบียบ  เพราะถ้า Mind Mapping
ของเราดูยุ่งเหยิงนอกจากจะแก้ไขรายละเอียดลำบากแล้ว ยังกลับไปอ่านทำความเข้าใจได้ยากอีกด้วย
3. ใช้สีในการทำ Mind Mapping เพราะสีสันมีส่วนช่วยในการจดจำ
4. แต่ละแขนง ขอให้เป็นสีเดียวกัน
5. วาดรูปลงไปด้วย